wiya

Ice Cream

20 มีนาคม 2555

เริ่มโดย wi ya ใน Dessert แก้ไขล่าสุด 20 มีนาคม 2555

เข้าชม 411

มนุษย์เราได้รู้จักกับความ โอชารสของไอศกรีมมาแต่ครั้งโบราณกาล ก่อนหน้าที่จะมีเครื่องทำความเย็นด้วยซํ้าไป โดยเมื่อราว 200 ปี ก่อน ค.ศ. ชาวจีนได้คิดอ่านนำเอานมกับแป้งจากข้าวมาผสม แล้วแช่ให้เย็นจนแข็งตัว และมีหลักฐานระบุว่าในช่วง ค.ศ.618-697 จักรพรรดิจีนแห่งราชวงศ์ชาง ทรงมีพ่อครัวถึง 94 คน สำหรับทำหน้าที่ปรุงไอศกรีมโดยใช้นมควาย แป้ง กับการบูร เป็นส่วนผสม

บางตำนานไอศกรีมก็ย้อนยุคไปถึง 400 ปีก่อน ค.ศ.โน่น โดยกล่าวว่าชนชาวเปอร์เชียต่างหากที่คิดทำไอศกรีมก่อนใครๆ เขานำเอานํ้าดอกกุหลาบกับเส้นหมี่ฝอย (vermicelli) มาปรุงเป็นของหวานคล้ายๆพุดดิ้ง (pudding) แล้วโรยด้วยนํ้าแข็งที่เจือหญ้าฝรั่น (saffron) กับสมุนไพรบางชนิด ของหวานนี้เสิร์ฟสำหรับพระราชวงศ์ ในวังหลวง ปัจจุบันชาวอิหร่านรู้จักกันดีในชื่อว่า "ฟาลูเดห์" (faloodeh)
ล่วงมาถึง ค.ศ.62 มีบันทึกประวัติศาสตร์ที่เขียนไว้ว่า เนโร (Nero) จอมจักรพรรดิดีเดือดแห่งอาณาจักรโรมัน ได้ทรงมีบัญชาให้ทาสขึ้นไปบนยอดเขาแอพเพนไน (Apennine) เพื่อเก็บเอาหิมะกับนํ้าแข็งลงมา แล้วปรุงรสด้วยนํ้าผึ้งกับไวน์และผลไม้ต่างๆ จัดเป็นของหวานที่ทรงโปรดปรานยิ่ง

ครับ นั่นก็เป็นตำนานพอสังเขปถึงเมื่อครั้งยังทำไอศกรีมกินโดยอาศัยหิมะและนํ้า แข็งจากธรรมชาติ ทีนี้ก็จะพูดถึงความหลากหลายแห่งของหวานโอชารสและเย็นเจี๊ยบในสมัยเทคโนโลยี ก้าวหน้ากันบ้าง

ในปี ค.ศ.1846 แม่บ้านชาวนิวเจอร์ซีย์ นามว่าแนนซี จอห์นสัน ได้คิดอ่านประดิษฐ์ถังทำไอศกรีมแบบใช้มือหมุน (hand cranked batch freezer) โดยถังนี้แช่อยู่ในนํ้าแข็งที่โรยเกลือ อาศัยหลักการว่า เกลือจะเป็นตัวดึงดูดเอาความร้อนออกจากถังทำให้นมและครีมเย็นจัดตํ่ากว่า ศูนย์องศาและแข็งตัว สำหรับรสชาติของไอศกรีมก็ได้มีการพัฒนาขึ้นอย่างยิ่งหลากหลายเช่นกันในช่วง ปลายศตวรรษที่ 18 โดยเฉพาะการเอาครีมหรือช็อกโกแลตมาราดหน้าไอศกรีมดังเช่นที่เรียกกันว่า ฮอตฟัดจ์ (hot fudge) วิปครีม (Whipped cream) หรือว่าซันเด (Sundae) ซึ่งมีตำนานแตกต่างกันไป และอีกตำนานหนึ่งระบุว่าเภสัชกรที่มีสกุลว่าอีแวนสตัน (Evanston) แห่งรัฐอิลลินอยส์ ได้เร่ขายไอศกรีมของเขาซึ่งมีช็อกโกแลตราดหน้า โดยขายเฉพาะในวันอาทิตย์ซึ่งเขาหยุดงานและแปลงชื่อจาก Sunday ซึ่งสะกดด้วย D-A-Y เป็น D-A-E

ช่วงแรกหลาย ร้อยปีนั้นไอศกรีมก็เสิร์ฟมาในถ้วยหรือในจาน จวบจนย่างเข้าศตวรรษที่ 20 จึงได้มีการผลิตภาชนะใหม่รับประทานได้ ซึ่งพวกเราก็รู้จักกันดีในชื่อไอศกรีมโคน (Cone) ซึ่งเรื่องตำนานของกรวยนี้ว่ากันว่าเกิดขึ้นในงานเวิลด์แฟร์ปี 1904 ที่เซนต์หลุยส์ โดยมีนักเร่ขาย (Vender) สองนาย คนหนึ่งขายขนมปังกรอบแวฟเฟิล (Waffle) อีกคนขายไอศกรีมโดยตักเป็นก้อนใส่จานกระดาษ ปรากฏว่าไอศกรีมขายดิบขายดีจนจานกระดาษหมด ทำไงดีไอศกรีมยังเหลืออีกแยะ จึงปรึกษากับนายคนขายแวฟเฟิล แล้วก็เลยคิดอ่านเอาแวฟเฟิลมาม้วนเป็นรูปกรวย เอาก้อนไอศกรีมใส่ลงไป ก็เลยเป็นเรื่อง...งานเข้าเพียบ
นอกจากโคน ธรรมดาแล้ว บริษัทจอยโคนก็ยังผลิตเค้กโคน (Cake cone) ด้วย โดยนำเอาแป้งมัน นํ้าตาลกับสิ่งปรุงรสบางอย่างมาใช้เป็นส่วนผสมผลิตกรวยเค้กกินได้นี้ ก็นับว่ากรวยหรือโคนนี้เป็นไอเดียเฉียบ ไม่ต้องล้างภาชนะ ไม่ต้องมีขยะเหลือหลังกิน แถมยังเคี้ยวกรอบอร่อยอีกตะหาก อ้าว คุณหนูบางคนชอบกินแต่กรวยโดยไม่สนไอติมก็มีนาคร้าบ

เมื่อใช้กรวย ขนมปังกรอบเป็นภาชนะ ไอศกรีมก็ควรมีขนาดก้อน (Scoop) ที่พอเหมาะ ซึ่งผู้ผลิตไอศกรีมรายใหญ่ บาสกิน-รอบบินส์ (Baskin-Robbins) ก็ได้เคยทำวิจัยและผลิตไอศกรีมขนาดมาตรฐานก้อนละ 4 ออนซ์

แล้วทราบ ไหมครับ ก้อนไอศกรีมขนาดมาตรฐานสี่ออนซ์นี้เราจะกัดหรือเลียกี่หนกว่าจะหมดก้อน?

เคย มีการทดลองแล้ว พบว่าสุภาพสตรีที่อาสาสมัคร เธอดูดเลียราวร้อยครั้งและกัดกินอีก 5-6 ครั้ง จึงหมดก้อนเกลี้ยงเกลา แต่เขาก็วิจัยต่ออีกว่า การกินไอศกรีมเย็นจัดๆนั้นจะทำให้เกิดอาการปวดสมองหรือไม่ ดังที่มีกรณี "สมองเย็นเยือก" (dreaded brain freeze) เมื่อกินไอศกรีมเข้าไป

ทั้งนี้ เมื่อเราสวาปามเอาไอศกรีมเข้าปาก เมื่อมันสัมผัสกับเพดานเหงือก จะทำให้เส้นเลือดฝอยบริเวณนี้หดตัวเนื่องจากความเย็น เลือดก็ไหลช้าลง แต่ว่าไม่กี่วินาทีถัดมาเพดานเหงือกก็จะกลับอุ่นขึ้นและเลือดก็ไหลเป็นปกติ ซึ่งอีตอนที่เลือดกลับฉีดพุ่งนี้ จะทำให้ปลายเส้นประสาทสัมผัสได้ จึงมีอาการคล้ายเจ็บปวดเกิดขึ้น สรุปได้ว่าความรู้สึกเจ็บนั้นไม่เกี่ยวกับตัวไอศกรีม แต่เป็นเพราะเลือดฉีดเร็วต่างหาก วิธีแก้ก็คือ อย่ากัดไอศกรีมโคนคำใหญ่ ให้เล็มหรือเลียทีละนิดจะดีกว่า ใครที่มีอาการปวดขมองจี๊ดในยามกินไอติมก็ลองเปลี่ยนวิธีสวาปามดูซิครับ

Bookmark and Share
 
Online:  3
Visits:  707,087
Today:  58
PageView/Month:  3,177